เมนู

โดยถูกต้องถ่องแท้. บทว่า ยโต ก็เท่ากับ ยสฺมา (แปลว่า เพราะเหตุใด).
บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในเวทนา. บทว่า วิมุจฺจติ ความว่า ย่อมพ้น
ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิมุตติ. มีคำอธิบายดังนี้ เพราะเหตุที่ท่านเห็นสุข
เป็นต้น โดยความเป็นทุกข์เป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงหลุดพ้นในเวทนานั้น
ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะละฉันทราคะ ที่เนื่องด้วยเวทนานั้น. ด้วยว่า
เมื่อกล่าวถึง ยํ ศัพท์ ก็ควรนำเอา ตํ ศัพท์มากล่าวไว้ด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยโต ความว่า สำรวมแล้ว คือมีตนอันระวัง
แล้ว ด้วยกาย วาจา และใจ อีกอย่างหนึ่ง พระอริยสาวกชื่อว่า ยโต เพราะ
พยายาม คือเริ่มตั้งความเพียร อธิบายว่า สืบต่อกัน ไป. บทว่า อภิญฺญา-
โวสิโต
ความว่า เสร็จสิ้นแล้ว คือทำกิจเสร็จแล้ว ด้วยอภิญญา 6 เพราะ
เจริญกรรมฐาน มีสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ โดยมีเวทนาเป็นหลัก. บทว่า สนฺโต
ได้แก่ผู้สงบแล้ว ด้วยการสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า โยคาติโค ความว่า
พระโยคาวจร ผู้ก้าวล่วงโยคะทั้ง 4 อย่าง มีกามโยคะเป็นต้น ชื่อว่า มุนี
เพราะรู้ประโยชน์เกื้อกูลทั้งสองอย่าง.
จบอรรถกถาทุติยเวทนาสูตรที่ 4

4. ปฐมเอสนาสูตร


ว่าด้วยการแสวงหา 3 ประการ


[232] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 ประการนี้ 3 ประการ